ความรู้เกี่ยวกับผดุงครรภ์ไทย |
|
|
|
เขียนโดย อ.อุไรรัตน์ สิงหนาท-Webmaster
|
หน้า 1 จาก 2 - ความหมายของศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และการคลอด ก้อนเส้า คือก้อนหินที่นำมาเผาไฟจนร้อนคลุมด้วยผ้าแล้วห่อพร้อมสมุนไพร มัดตรงปลายหรือใช้ผ้าพับทบกันหลายๆชั้น แล้วนำมากดนวด/ประคบบนหน้าท้องมารดาหลังคลอดในระยะอยู่ไฟ ความร้อนจากก้อนหินช่วยให้ความอุ่นแก่ช่องท้อง (กระตุ้นการไหลเวียนเลือด) แก้อาการหนาวเย็น และอาการตะคริว ช่วยกระชับกล้ามเนื้อหน้าท้อง ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น และยังช่วยขับลม ไม่ให้ท้องอืด ปกติก้อนเส้าจะมีลักษณะยาวรี ที่เคยเห็นสตรีชนบทใช้ คือจะใช้ก้อนอิฐแดงเป็นก้อนเส้า ภาพขณะมารดาอยู่ไฟหลังคลอด และนำเอาก้อนเส้ากดนวดหน้าท้องตนเอง ภาพจาก http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=2176286
ตกฟาก หมายถึง เมื่อทารกคลอดพ้นครรภ์มารดาออกมาแล้ว ทารกจะตกลงมาบนพื้นฟาก (ที่ใช้ผ้ามาปูรองรับไว้แล้ว) ซึ่งพื้นบ้านในสมัยโบราณ มักใช้ไม้มาทำเป็นพื้นฟากหรือพื้นเรือน เวลาที่ทารกตกฟากหรือเวลาที่ทารกเกิดพ้นครรภ์มารดา จึงเรียกกันว่า เวลาตกฟาก (Time of Delivery) ซึ่งเดิมหมอตำแยจะมีบทบาทในการสังเกตจดจำเวลาตกฟากด้วย - พัฒนาการของทารกในครรภ์ -ความยาวของทารกตามระยะครรภ์
จากภาพแสดงพัฒนาการด้านความยาวของทารกในครรภ์จากยอดศีรษะถึงส่วนล่างสุดของสะโพกทารกในครรภ์ (ที่มักอยู่ในท่าดังกล่าวแม้ว่าจะกลับศีรษะลงด้านล่างหรือไม่ก็ตาม) ในการประเมินหรือคะเนอายุครรภ์จากความสูงของยอดมดลูกนั้น ความจริงก็คือการวัดความยาวตั้งแต่ยอดศีรษะทารกในครรภ์ (crown) ไปจนถึงส่วนล่างสุดของสะโพก (rump) โดยไม่วัดรวมส่วนแขนขา (limbs) ที่เรียกว่า crown-rump length นั่นเอง แม้ว่าความแม่นยำในการนำตัวเลขจากการวัดยอดมดลูกไปคะเนอายุครรภ์จะแม่นยำกว่าในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ แต่การประเมินความสูงของมดลูกที่เพิ่มขึ้นตามระยะครรภ์ที่มากขึ้น โดยการวัดระดับยอดมดลูกถึงหัวเหน่าของมารดา ก็ช่วยบอกได้ว่าทารกในครรภ์น่าจะมีการเติบโตขึ้น ซึ่งควรวัดทุกครั้ง แต่ตัวเลขอาจจะขึ้นไปจุดสูงสุดแล้วเริ่มลดลงในระยะที่ใกล้คลอด (ปกติประมาณไม่เกินสองสัปดาห์ก่อนคลอด) การที่ความสูงยอดมดลูกลดลงเนื่องจากส่วนนำทารกได้เคลื่อนต่ำลงสู่อุ้งเชิงกรานแล้ว และแม้ว่าการใช้เฉพาะความยาวของยอดศีรษะถึงส่วนล่างสะโพกนี้ อาจไม่สามารถบอกได้แน่นอนเท่ากับการตรวจวัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง/อัลตร้าซาวน์ ที่สามารถวัดสัดส่วนอื่นของทารกในครรภ์มาประกอบการคะเนอายุครรภ์ได้แม่นยำกว่าก็ตาม เช่น ความยาวรอบศีรษะ รอบท้อง ความกว้างของศีรษะ และความยาวของกระดูกต้นขาทารก
จากภาพตัวเลขที่วัดได้ให้ลองนำไปเทียบกับตัวเลขในภาพที่จำแนกตามอายุครรภ์ อาทิ ถ้าวัดความสูงยอดมดลูก (crown-rump length หรือ CR length)ได้ 30 ซม.หรือ 300 มิลลิเมตร ก็คะเนว่าอายุครรภ์น่าจะเท่ากับ 32 สัปดาห์ การคะเนอายุครรภ์ให้พิจารณาจากตัวเลขความสูงยอดมดลูกในภาพด้านล่าง แต่ต้องยกเว้นในรายที่ทารกอยู่ในแนวขวางกับแนวมดลูกหรือทารกอยู่ในท่าขวางเมื่อเทียบกับหน้าท้องมารดา - ระยะคลอด - ทิศทางแรงดัน ถุงน้ำทูนหัว และแนวรัดในระยะคลอด
ภาพทิศทางของแรงกดในโพรงมดลูกที่มดลูกมีการหดรัดตัวเมื่อเข้าสู่ระยะคลอด ซึ่งจะทำให้ส่วนนำและลำตัวทารกเคลื่อนต่ำลงไปเรื่อยๆ จนคลอดออกมา ภาพแรกซ้ายมือ จะเห็นถุงน้ำทูนหัวที่ปลายลูกศรชี้ ส่วนภาพขวามือ จะเห็นการเกิดแนวรัดคล้ายแถบเข็มขัดตามเส้นสีขาว (Girdle) ในช่วงที่เกิดการเจ็บครรภ์คลอด - ระยะคลอด
ภาพส่วนนำ/ศีรษะทารกเคลื่อนลงต่ำสู่ช่องทางคลอด ทำให้ปากมดลูเปิดขยาย ภาพขวาเป็นภาพที่ผู้ทำคลอดซึ่งยืนปลายเท้ามารดา จะเห็นการเปิดขยายเต็มที่ของปากมดลูก คือ 10 ซม. และจะเป็นช่วงที่มารดาับังคับไม่ได้ เนื่องจากศีรษะทารกกำลังจะคลอดพ้นปากช่องคลอด ซึ่งผู้ทำคลอดต้องป้องกันการฉีกขาดกระทันหันของท่อทางคลอดและฝีเย็บ (Safe perineum) และช่วยรับการคลอดของศีรษะทารกให้ทัน ภาพการช่วยคลอดทางช่องคลอด การใช้มือช่วยประคองศีรษะทารกขณะคลอดศีรษะ ซึ่งหลังจากศีรษะคลอด ศีรษะทารกจะเกิดการหมุนเองตามกลไกธธรมชาติของการคลอดไปอยู่ในท่าเดิมตามแนวกระดูกสันหลังทารก ระดับยอดมดลูกกับอายุครรภ์ -จากภาพแสดงระดับยอดมดลูกที่ได้จากการตรวจครรภ์หายอดมดลูก แล้วนำควาทมสูงยอดมดลูกมาเทียบกับตำแหน่งต่างๆ บนหน้าท้องมารดา คือ หากยอดมดลูกคลำได้อยู่ระดับหัวเหน่า - สิ่งปกติที่อาจตรวจพบในทารกแรกเกิด
หนังตาบวม (Eyelid Edema)
เลือดออกใต้เยื่อบุตาขาว (Subconjuntival hemorrhage)
ผนังหน้าท้องนูนในระยะที่เกิดแรงดันในช่องท้อง (Diastesis Recti) รอยนูนของกระดูกลิ้นปี่ (Prominent Xiphoid)
|
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Sunday, 12 August 2012 )
|